วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553


อาหารเป็นยา...ตำข้าวสารกรอกหม้อ (พออยู่พอกิน)


Chalee Bum

          สวัสดีค่ะ...เผลอประเดี๋ยวเดียว วันเวลาก็พาเราก้าวย่างเข้าสู่เดือนท้ายๆ ของปลายปีกัน อีกแล้วปีใหม่ที่จะมาถึงนี้คือปี ..2554 ของไทยและเป็นปี ..2011 ของปีสากลทั่วไป

แม้ กระแสของวันโลกแตกจะสร่างซาลงไปบ้างแล้วแต่ดิฉันคาดเดาว่าคงมีคนอีกส่วน หนึ่งที่ยังคอยจดจ้องกับวันเวลาที่คืบคลานเข้ามา ท่านผู้อ่าน Thai Good News ที่รักล่ะคะมีใคร เป็นแบบนั้นกันบ้างหรือเปล่า?  ก่อนที่จะถึงวันโลกาวินาศก็ยังอีกตั้งเกือบสองปียังเป็นเรื่องของ อนาคตจะวิตกกันมากไปทำไม...ดิฉันว่าเรามาคิดถึงปี 2554 ที่ กำลังจะมาถึงนี่ก่อนดีกว่าเศรษฐกิจ ในภาวะเช่นนี้ช่วงที่เราต้องจัดซื้อจัดหาของขวัญและของฝากในเทศกาล ทั้งก่อนและหลังปีใหม่ แต่ละท่านก็ต้องใช้เงินกันคนละไม่น้อยเลย  
                เทศกาลเป็นช่วงที่ครอบครัวจะได้พบกันถือว่าเป็นเรื่องดี ดิฉันปรารถนาให้ทุกท่านได้ สิ่งดีๆเข้ามากันทุกๆ คนทุกๆ ครอบครัวนะคะ  และ ใคร่จะขอฝากข้อคิดไว้สักนิดค่ะว่า ในตะกร้า หรือกระเช้าของขวัญของฝากเราไม่ควรสักแต่ว่าซื้อมาเพราะเห็นว่าราคาถูก หากเรามอบสิ่งเหล่า นั้นให้คนที่เรารักเราห่วงใยไปแล้วเขาไม่ได้ใช้ก็จะเป็นการเสียประโยชน์ อย่าเพิ่งค้อนดิฉันนะคะ ว่ายัยชาลีนี่เรื่องมากจังเลย...คิดสักนิดก่อนซื้อ จะทำให้ผู้รับได้ยิ้มอย่างมีความสุขค่ะ
                ท่านที่ผ่านพ้นวัยเด็กมาแล้วคงพอคุ้นหูกับคำว่า ตำข้าวสารกรอกหม้อ คือ สำนวน ไทยที่มีความหมายเปรียบเทียบการทำมาหากินหรือการทำงานใดๆ ที่เพียงขอแค่ได้ ผ่านไปวันๆ หนึ่งโดยไม่ได้คิดถึงอนาคต        
                แต่ วันนี้ดิฉันมีเรื่องมาเล่าถึงการหาข้าวสารมาหุงเป็นอาหารหลักของชาวบ้าน ที่ทำนา เก็บข้าวเปลือกไว้เพื่อขัดสีกินเองซึ่งเขาจะนำข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในยุ้ง ฉางหรือธนาคารข้าวที่รวม กลุ่มกันบริหารจัดการได้อย่างเอื้ออารีย์ เป็นสังคมเล็กๆที่น่ารักมาก  เขา นำข้าวเปลือกมาทำให้ เป็นข้าวสารเก็บใส่ถังไว้แต่พอใช้จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะพอสำหรับการหุงในเวลาสักสี่ห้าวันหรือ มากกว่านั้นแต่จะคำนวณไม่ให้นานเกินไป เนื่องจากว่าข้าวที่เขานำมาทำกินนี้ ไม่ได้มียาฆ่าแมลง หรือสารต้านเชื้อรา หากทำเก็บไว้ในปริมาณมากอาจมีความชื้นจนเกิดราหรือมีตัวมอดมากัดกิน ข้าวก่อนจะได้นำมาหุงเป็นข้าวสุก การกระทำเช่นนี้ก็ดูคล้ายกันกับสำนวนไทยที่กล่าวมาตอนต้น แต่ต่างเหตุต่างผล คือ การตำข้าวสารกรอกหม้อนั่นเอง
                มี แพทย์ทางเลือกท่านหนึ่งได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่าคนเราทุกวันนี้กินซากพืช และ ซากสัตว์ที่เก็บไว้ในห้องดับจิตนั่นคือพวกเรากินผักผลไม้และเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่มีสารกันเชื้อรา-ฟามาลีน-สารกันบูด รวมถึงยาฆ่าแมลงไว้ครบครัน ขนมนมเนยก็ไม่มีคำว่ายกเว้น  ทุก สิ่งที่ถูกเรา เลือกสรรแล้วว่าชอบและอยากกินเราก็ซื้อมากักเก็บไว้ในตู้เย็นที่บ้านของ เราเองไม่ต่างไปจาก ห้องดับจิตที่เก็บของหมดอายุแล้วในโรงพยาบาล  อาหาร เหล่านั้นบางอย่างถูกอุ่นแล้วอุ่นอีก และบางอย่างก็ถูกแช่แข็งไว้จนลืมไปแล้วว่าเราหามาเก็บไว้ตั้งแต่เมื่อ ใดนานแค่ไหนแล้ว เราจึง เป็นนักสะสมฟอสซิลในห้องดับจิตทันสมัยหลากหลายยี่ห้อที่เรียก กันว่า ตู้เย็น อาหารบาง อย่างถูกผสมสารฟอมาลีนไว้แล้วเราก็ยังนำมันมาแช่แข็งไว้อีกต่อ หนึ่ง ก่อนเราจะกินมันเข้าไป
                การ สีข้าวด้วยเครื่องสีข้าวแบบโบราณที่ทุกบ้านทุกครัวเรือนในสมัยก่อนนั้น เขามีกัน ทุกครอบครัวโดยเริ่มจากการนำข้าวเปลือกมาใส่ลงในเครื่องสีแล้วหมุน คานหมุนที่โยงเชือกไว้ เป็นวงกลม     
                การสีข้าวที่เป็นการบริหารกายได้เป็นอย่างดีแถมมีขั้นตอนของการฝัดข้าวด้วย กระด้ง สานจากไม้ไผ่ (บางภาคเรียกว่ากระทาย) เพื่อ แยกเปลือกและเมล็ดออกซึ่ง เวลาที่เขาฝัดหรือกระ ทายข้าว ก็จะมีฝูงไก่ที่เลี้ยงไว้กินไข่มาออกันคุ้ยเขี่ยปลายข้าวและรำที่หล่นลงดิน เป็นการไม่สูญ เปล่าด้วย  เมื่อทำการแยกข้าวสารและข้าวเปลือกที่เรียกว่า แกลบ แล้ว จากนั้นก็นำมาเลือก เมล็ดข้าวเปลือกที่ยังตกค้างออกจากข้าวสารเพื่อเก็บไปรวมใน การขัดสีครั้งต่อไป  คุณ ค่าอาหาร ของข้าวซ้อมมือไม่ว่าจะมาจากครกไม้หรือ เครื่องสีด้วย มือนั้นคงไม่ต้องอธิบายกันยืดยาวเพราะ เราๆ ท่านๆ ก็ทราบกันว่าดีจริง
                ตาม ความหมายของสำนวนตำข้าวสารกรอกหม้อแบบย้อนศรยังมีให้เห็นอีกอย่างหนึ่ง ที่ใครหลายคนอาจเคยผ่านตามาบ้างแล้วแต่จะมีใครเคยได้ลงมือทำเองคงจะมีไม่มาก นัก คือการ ทำน้ำตาลจากน้ำอ้อยโดยนำอ้อยสดที่เขาปลูกไว้จนแก่พอ (ประมาณ 10 เดือนขึ้นไป) มาล้างน้ำ ทำความสะอาดปอกเปลือกแล้วคั้นเอาน้ำอ้อยไปเคี่ยวในกระทะจนได้ความข้นเหมือนน้ำเชื่อม  จาก นั้นก็นำลงมาจากเตาใช้ไม้พายคนไปมาจนหนืดแห้งเหมือนน้ำตาล ปี๊บที่มีขายตามตลาด ขั้น ตอนนี้เราเก็บเป็นน้ำตาลปี๊บหรือจะหยอดใส่พิมพ์เก็บไว้ใช้ได้ตาม แต่จะประสงค์  และ เมื่อขยี้ เบาๆ ต่อไปอีกสักพักหนึ่งก็จะเป็นน้ำตาลผงๆ ที่เราเรียกกันว่าน้ำตาลทรายแดงหรือคนโบราณ เรียกว่าน้ำตาลสีรำที่มีสีทองเหลืองนวลไม่ดำเข้ม หรือสีน้ำ ตาลไหม้แบบที่เราคุ้นตากันตามตลาด                            
                เนื่องจากขั้นตอนของการทำน้ำตาลแบบตำข้าวสารกรอกหม้อยุคใหม่นี้ทำแบบชีวิตพอ เพียง จึงสะอาดปลอดภัยไร้สารเคมีใดๆ แต่ไม่ได้ไร้ความหอมหวาน ช่างเป็นน้ำตาลที่น่ากินจน ลืมไปว่า...วันนั้นทั้งอ้อยสดๆ และน้ำตาลที่ทำไปชิมไปได้ผ่านลิ้นลงท้องไปแล้ว กี่ขีด  เมื่อถึง เวลาอาหารมื้อกลางวันนักชิมอย่างดิฉันจึงไม่รู้สึกว่าหิวข้าว  คุณลุงที่กำลังปอกอ้อยก็ช่างน่ารัก ปอกเสร็จก็ส่งผ่านมาให้ชิมด้วยลุงนั้น บรรยายว่าลองกินพันธุ์นี้ดูนะจะได้ เปรียบถูกถึงรสชาติว่า ต่างกันไหม  เข้าตำราสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น-สิบตาเห็นก็ไม่เท่ามือคลำ  ดังนั้นอ้อยแต่ละลำจึง ค่อยๆ หมดไปจนน้องๆ ยังล้อเลียนเลยว่า..ชบาแก้วกินอ้อย...โถ ดิฉันเป็นคนนะคะไม่ใช่ช้างสาว ในหนังก้านกล้วย (สวยไม่พอ)
                อ้อย ที่นำมาทำน้ำอ้อยบรรจุใส่ขวดขายนั้นเป็นอ้อยสำหรับทำน้ำตาลที่เราใช้บริโภค กัน ในรูปของน้ำตาลทรายหลากหลายยี่ห้อ อ้อยมีหลากหลายสายพันธุ์แต่ที่ได้ลอง ลิ้มชิมรสมาแล้ว ในวันนั้นคืออ้อยเคี้ยวที่มีเปลือก ของลำสีแดงอมม่วงเป็นอ้อยที่ปลูกเพื่อการนำมากินแบบที่เรา คุ้นเคยกัน  อ้อย ชนิดนี้เนื้อจะนิ่มกว่าอ้อยทำน้ำตาลและมีรสหวานเย็น หอมกลิ่นอ้อยอ่อนๆ ที่เหลืออีกสามสายพันธุ์เป็นอ้อยที่ปลูกเพื่อการอุตสาหกรรมน้ำตาล  จะมีเปลือกของลำสีเหลือง นวล ที่ดิฉันลองลิ้มชิมรสทั้งในบทของชะบาแก้วคือ การกินแบบสด แบบน้ำที่คั้นออกมา และชิม ตอนเป็นน้ำตาลร้อนๆ ในบทของนักปรุงอาหารขอโหวตเลือกพันธุ์มากอสให้เป็นอ้อยที่ทำน้ำ- ตาล ได้รสหวานเข้มข้นและมีความหอมของอ้อยชัดเจน น้ำตาลนี้ชาวบ้านเขาทำกันสำหรับพอกิน พอใช้และพอเก็บไว้เป็นเสบียงในครัวเรือน แต่ผลที่ได้ตามมาคือการเพิ่มมูลค่าของอ้อยที่ปลูกไว้ แถมด้วยการได้บริโภคน้ำตาลปลอดสารเคมีและสิ่งเจือปนต่างๆ ในการผลิต
                ดู เอาเถิดว่าคนยุคนี้เขาตำข้าวสารกรอกหม้อ กวนน้ำตาลใส่ปี๊บได้อย่างภาคภูมิ รอยยิ้ม เกิดขึ้นในใจที่ได้เห็นการมีวิถีฯ ความเป็นอยู่แบบพึ่งพาทั้งเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติ รวมถึง แบ่งปันกันในหมู่ญาติ ทำให้ความเป็นอยู่ในสังคมพึ่งพากันยังคงไว้ให้เห็นได้บ้าง การ ที่ได้ไป สัมผัสกิจกรรมนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกได้เลยว่าชีวิตมีอะไรให้ทำได้อีกมากมาย ตั้งแต่ดวงตะวันยังไม่ ขึ้น จนถึงเมื่อเวลาตกลับฟ้าลาทุ่งข้าวไปแล้ว กิจกรรมของนักกสิกรรมก็ยังมี รอให้บริหารจัดการ อย่างไม่มีวันหมดจริงๆ 
                สรรพคุณ
น้ำอ้อย ลำต้น และข้อ รสหวานชุ่ม เย็น แก้ร้อน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้อาการร้อนรุ่มกลุ้มใจ คอแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก และอาการเมาค้าง โดยใช้ลำต้นสด ๗๐-๙๐ กรัม หรือแห้ง ๓๐-๔๐ กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำ แบ่งดื่มวันละ ๒ ครั้งก่อนอาหาร
เปลือกต้นแก้เด็กเป็นตาลขโมย ขาดอาหาร แผลกดทับต่าง ๆ
ชานอ้อยแก้หนังศีรษะเป็นแผลเรื้อรัง แผลฝีบวมอักเสบ
                ขั้นตอนการเคี่ยวน้ำอ้อยให้เป็นน้ำตาล
-  นำอ้อยที่ตัดส่วนไม่ใช้ออกแล้วมาตัดเป็นสองหรือสามท่อนทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำจะปอกเปลือกหรือไม่ปอกก็ได้
- นำอ้อยเข้าเครื่องหีบหรือเครื่องคั้นแยกน้ำอ้อยกรองเอากากออกด้วยผ้าขาวบาง
-  นำน้ำอ้อยที่ได้มาใส่กระทะนำไปตั้งบนเตาไฟให้เดือดทิ้งไว้สักประมาณยี่สิบนาทีจึงตักฟองสีเทาดำที่ลอยอยู่ทิ้งไป
- พอน้ำตาลเดือดไปอีกระยะหนึ่งจะเริ่มมีฟองขึ้นฟูให้คอยสังเกตุรอให้ฟองนั้นยุบตัวลง(ฟองเหล่านั้นคือน้ำส่วนเกินที่อยู่ในน้ำอ้อย)
- ช่วงที่น้ำตาลยุบตัวลงแล้วนี้จะเป็นช่วงที่ต้องดูแลเพราะอาจเกิดการไหม้ตรงขอบกระทะ จะทำให้ขมและสีของน้ำตาลจะเข้ม ให้หมั่นคนเบาๆ และหากตรงขอบกระทะมีคราบน้ำตาลไหม้ก็ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำคอยเช็ดออก
-  เมื่อน้ำตาลเริ่มหมดฟองอากาศแล้วก็รอสักครู่หนึ่งกะว่าประมาณสิบนาที น้ำตาลในกะทะ จะเริ่มข้นจึงนำไปเทลงในกระทะอีกใบหนึ่งเพื่อให้ น้ำตาลเย็นลงช่วงนี้ให้ใช้ไม้พายคนไปมาเรื่อยๆ จนน้ำตาลค่อยๆ ข้นเหนียวจนเกือบแห้งเราก็จะนำไปเทใส่พิมพ์หรือภาชนะเก็บไว้
- หากต้องการน้ำตาลสีรำก็ให้ยีน้ำตาลต่อไปอีกเบาๆ น้ำตาลก็จะเป็นผงแห้งพร้อมให้เราเก็บไว้ใช้
                อ้อยสดเมื่อนำมาตัดยอดริดใบและรากออกแล้วชั่งน้ำหนัก 10 กิโลกรัม นำไปหีบ ด้วยเครื่องหีบแล้วจะเคี่ยวทำน้ำตาลได้ประมาณ 2 กิโลกรัม (ใช้เวลาประมาณ 90-100 นาที) เหลือกากอ้อยนำไปทำปุ๋ยหมักหรือตากแห้งนำมารวมเป็นเชื้อในเตา (ทำเยื่อกระดาษหรือ ภาชนะ) ส่วนยอดของต้นอ้อยที่ตัดออกนั้นก็นำกลับไปทำพันธุ์ในการปลูกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น